การศึกษาวิธีการ เครื่องมือ และการประเมินผลอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมที่นำไปสู่การศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตกรรมไผ่สมัยใหม่ ในประเทศไทย

รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี, สุปรีดี ฤทธิรงค์
2021 Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS)  
การเชื่อมโยงมโนทัศน์ "อัตลักษณ์" และ "อัตลักษณ์สถาปัตยกรรม" เข้ากับ "สถาปัตยกรรมไผ่สมัยใหม่" นั้นยังมีช่องว่างทางการศึกษาขนาดใหญ่ในหลายประเด็น บทความนี้มุ่งเน้นการศึกษาวิธีการ เครื่องมือ การประเมินผล ที่ใช้ในการศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรม เพื่อนำไปสู่การศึกษาสถาปัตยกรรมไผ่สมัยใหม่ จากการสืบค้นในระบบสารสนเทศ โดยใช้คำสำคัญ "อัตลักษณ์สถาปัตยกรรม" ในปี พ.ศ. 2550 - 2563 พบวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 52 เรื่อง แต่ละเรื่องนั้นมีกรอบทฤษฎี วิธีการ เครื่องมือ การประเมินผล ที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า 1)
more » ... เภทและรูปแบบสถาปัตยกรรม พบมากในเรือนพักอาศัย แบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 2) การศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมในฐานะที่สถาปัตยกรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของย่านหรือชุมชน เป็นกลุ่มการศึกษาที่นักวิจัยทำการศึกษามากกว่ากลุ่มอื่น 3) การสำรวจทางกายภาพของสถาปัตยกรรม การสัมภาษณ์ การสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ ในขณะที่การศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไผ่สมัยใหม่นั้นมีความเฉพาะเจาะจงในหลายมิติ ไม่เพียงแต่มิติรูปธรรมทางกายภาพ อันเป็นความหมายตรงที่ปรากฏ เช่น ระดับเทคโนโลยีการก่อสร้าง ความซับซ้อนของโครงสร้าง ประเภทข้อต่อ วัสดุประกอบ ลักษณะรูปทรง การใช้งาน กายวิภาคพันธุ์ไผ่ แต่ยังรวมไปถึงมิตินามธรรมในเชิงสัญลักษณ์ หรืออิทธิพลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีความหมายแฝงที่ซ่อนอยู่ เช่น สัญลักษณ์ คติความเชื่อ ภูมิปัญญา ค่านิยม และวัฒนธรรมในการก่อสร้าง ตัวแปรเหล่านี้ทำให้การศึกษาสถาปัตยกรรมไผ่แตกต่างจากงานอื่นๆ และส่งผลต่อการพิจารณาวิธีวิทยาที่เหมาะสม โดยเฉพาะวิธีการสำรวจนำร่องและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เป็นวิธีการเบื้องต้นที่จะให้ได้มาซึ่งตัวแปรเชิงปฏิบัติการและเชิงคุณลักษณะ ที่จะทำให้ตัวชี้วัดการศึกษาอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไผ่สมัยในประเทศไทยนี้มีความเฉพาะยิ่งขึ้น
doi:10.56261/jars.v18i2.242176 fatcat:37p3tae6fjacvixdmcgx7ephzi